สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 ธันวาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 25.026 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.88 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ   กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,709 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,509 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,338 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,250 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,517 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,172 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 345 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 650 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,516 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 634 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,243 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 273 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 644 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,308 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,068 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 240 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.6396 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนธันวาคม 2566 ผลผลิต 518.067 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 512.983 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.99
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนธันวาคม 2566
มีปริมาณผลผลิต 518.067 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.99 การใช้ในประเทศ 525.046 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.78 การส่งออก/นำเข้า 52.138 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.52 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 167.762 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 3.99
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่  ปากีสถาน จีน กัมพูชา เมียนมา บราซิล อุรุกวัย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ตุรกี และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และปารากวัย
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย อิหร่าน บังกลาเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร เนปาล และเอธิโอเปีย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม บราซิล กานา เคนยา และโมซัมบิก
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ไนจีเรีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา คาดการณ์ว่าในปี 2566 การส่งออกข้าวสารจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 - 10 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2566 มีการส่งออกข้าวสารประมาณ 670,000 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้ 700,000 ตัน
ประธานคณะกรรมการสหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา กล่าวถึงความสำคัญของการรักษาระดับการส่งออกข้าว เพื่อเป็นการรักษาอุตสาหกรรมข้าวในท้องถิ่นและการดำรงชีวิตของเกษตรกร แม้ว่าการส่งออกข้าวของกัมพูชาจะเติบโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป้าหมายยังคงมุ่งเน้นไปที่การสร้างความยั่งยืนให้ภาคการเกษตรและความอยู่รอดของธุรกิจ
โรงสีข้าว ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือ การขาดแคลนข้าวเพื่อการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวกําลังเผชิญกับปัญหาการแข่งขันกับพ่อค้าข้าวเวียดนามในการรับซื้อข้าวจากเกษตรกร เพราะพ่อค้าข้าวเวียดนามให้ราคาที่สูงกว่า ประกอบกับเวียดนามได้เปรียบทางด้านระบบโลจิสติกส์ที่มีโรงอบข้าว คลังสินค้า ท่าเรือ และระบบการขนส่งที่ดี ซึ่งจากที่มีการแข่งขันรับซื้อข้าวเกิดขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวสารและข้าวเปลือกปรับสูงขึ้น ดังนั้นหากกัมพูชามีข้าวเพียงพอสำหรับส่งออก อาจจะทำให้ส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 แต่การที่กัมพูชาประสบกับภาวะอุปทานข้าวไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวในปีหน้าด้วย ซึ่งราคาข้าวในตลาดโลกจะยังอยู่ในระดับสูง แต่เจ้าของโรงสียังต้องใช้ความพยายามในการรวบรวมข้าวจากเกษตรกร เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านการส่งออกข้าวกับคู่แข่งได้
นอกจากนี้ สถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2567 อาจจะเกิดภาวะวิกฤต เนื่องจากกัมพูชาเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ซึ่งอาจจะนําไปสู่การขาดแคลนข้าวเพื่อการส่งออกได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งตรงกับฤดูเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูแล้ง คาดว่าการส่งออกข้าวจะเพิ่มขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บราซิล
บริษัท Archer Daniels Midland company (ADM) ซึ่งเป็นผู้จัดหาและรับซื้อธัญพืชรายใหญ่ที่สุดของโลก        ได้สั่งซื้อข้าวจากไทย จำนวน 60,000 ตัน เพื่อบรรจุหีบห่อและจำหน่ายในบราซิล โดยคาดว่าเรือขนส่งข้าวจากไทย    จะมาถึงบราซิลช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวของบราซิลแล้ว ประกอบกับราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้นมาก ส่วนหนึ่งจากการที่อินเดียประกาศระงับการส่งออกข้าวและประเทศในเอเชียตัดสินใจจํากัดการส่งออก ทำให้บริษัท ADM ต้องตัดสินใจนําเข้าข้าวจากไทย โดยปริมาณการนําเข้าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สมาคมอุตสาหกรรมข้าวบราซิล รายงานว่า ปี 2566 (มกราคม-ตุลาคม) บราซิลนําเข้าข้าว 0.909 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ขณะที่มีการส่งออกข้าวปริมาณ 1.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 4  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ทั้งนี้ รัฐ Rio Grande do Sul ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของบราซิล สามารถผลิตข้าวได้ร้อยละ 70 ของการผลิตข้าวทั้งประเทศ กําลังประสบปัญหาความล่าช้าในการเริ่มฤดูการเพาะปลูกถัดไป เนื่องจากน้ำฝนมีปริมาณมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้องชะลอการเพาะปลูกข้าว
โดยปี 2566/67 ปลูกข้าวแล้วร้อยละ 77 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด คาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าว 7.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับการผลิต ปี 2565/66  อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับประมาณการ เนื่องจากการชะลอการปลูกข้าวในรัฐ Rio Grande do Sul
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.32 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18  ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,378.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 292.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,196.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 2,182.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1.206.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,167.66 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.37 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แคนนาดา อียิปต์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
สำหรับการค้าของโลกมี 199.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.49 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 10.29 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป อินเดีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม
อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 473.00 เซนต์ (6,527.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 464.00 เซนต์ (5,186.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 1,341.00 บาท



 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.696 ล้านตัน (ร้อยละ 9.65 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.01
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.39 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.34 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.68
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.80 บาท ราคาทรงตัวที่เท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.30 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 269.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,410 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,660 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,260 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (20,380 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.100 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.198 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.403  ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 21.60 และร้อยละ 21.74 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.03 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.07
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.65 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 31.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.32
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มตลาดล่วงหน้ามาเลเซียปรับตัวลดลงตามความต้องการของตลาดที่ลดลง แต่ยังได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยการส่งออกของประเทศมาเลเซียระหว่างวันที่ 1 – 20 ธันวาคม
ลดลงจากเดือนที่ผ่านในช่วงเดียวกัน ร้อยละ 8 และการส่งออกของอินโดนีเซียในเดือนตุลาคม ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 31 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,691.83 ริงกิตมาเลเซีย (28.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,664.76 ริงกิตมาเลเซีย (28.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 949.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
                - 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในปี 2566/2567 การนำเข้าน้ำตาลของประเทศจีนน่าจะฟื้นตัวเป็น 4 ล้านตัน จาก 3.89 ล้านตัน ในปี 2565/2566 และคาดการณ์เพิ่มเติมว่า การนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสมน่าจะเพิ่มขึ้น 200,000 ตัน เป็น 1.8 ล้านตัน ซึ่งเมื่อรวมกับสต็อกน้ำตาลที่มีอยู่แล้วของจีนน่าจะเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศที่ 15.88 ล้านตัน ตามสมมติฐานว่ามีผลผลิตน้ำตาลที่ 10 ล้านตัน
- ชาวไร่อ้อยของประเทศฟิลิปปินส์ ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์เข้ามา แทรกแซงเนื่องจากราคาน้ำตาลหน้าโรงงานลดลงต่ำกว่าต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม ผู้ร่างกฎหมายท่านหนึ่ง กล่าวว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่น่าจะมีเงินทุนเข้ามาซื้อน้ำตาลในราคาที่สูง ในทางกลับกัน เขาเสริมว่า แผนการ นำเข้าน้ำตาลใดๆ ในอนาคตน่าจะต้องถูกระงับชั่วคราว และรัฐบาลควรหาทางที่จะเพิกถอนอุปทานน้ำตาล ส่วนเกิน




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.40 บาท 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,308.88 เซนต์ (16.86 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,319.30 เซนต์ (17.21 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 421.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.58
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 49.90 เซนต์ (38.55 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 50.16 เซนต์ (39.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.40

 
 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.94 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,010.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 994.50 ดอลลาร์สหรัฐ (34.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 807.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 794.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,474.80 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,451.50 ดอลลาร์สหรัฐ (50.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.17 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 952.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 937.25 ดอลลาร์สหรัฐ (32.88 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,033.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,017.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.18
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.21 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,952  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,092  บาท คิดเป็นร้อยละ 6.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,333 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,487 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 669 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 950 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.08 คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.64 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.72 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลงกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.74 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.37 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 376 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 389 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 417 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 431 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 413 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 410 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 431 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.08 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.55 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 - 24 ธันวาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.63 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.20 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 127.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.49 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท